สำนักงานชลประทานที่ 6 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ วางแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ ด้วยการสูบน้ำต้นทุนจากเขื่อนลำปาวย้อนกลับเข้าเติมที่เขื่อนวังยาง สนับสนุนการอุปโภคบริโภคเมืองมหาสารคาม /PALANCHAI TV/ชสอท./nuk/0817082129-รายงาน

สำนักงานชลประทานที่ 6 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ วางแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ ด้วยการสูบน้ำต้นทุนจากเขื่อนลำปาวย้อนกลับเข้าเติมที่เขื่อนวังยาง สนับสนุนการอุปโภคบริโภคเมืองมหาสารคาม

/PALANCHAI TV/ชสอท./nuk/0817082129-รายงาน


สำนักงานชลประทานที่ 6 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ วางแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ /PALANCHAI TV/ชสอท./สมนึก-ประธาน/0817082129-รายงาน

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 เปิดเผยหลังจากลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีกลาง อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด เมื่อบ่ายวันนี้(16ธค62) ว่า.-ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และ เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย สามารถสนับสนุนน้ำได้เฉพาะการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ส่วนที่เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถสนับสนุนน้ำสำหรับทุกกิจกรรมได้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า


จากการประชุมหารือแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งได้เชิญโครงการชลประทานในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ และจังหวัดร้อยเอ็ด มาร่วมวางแนวทางในการลดปริมาณการใช้น้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ที่จะส่งไปสนับสนุนการอุปโภคบริโภคในพื้นที่อ.เมืองมหาสารคาม

ด้วยการสูบน้ำย้อนกลับจากแม่น้ำชีซึ่งเป็นน้ำต้นทุนของเขื่อนลำปาว มาเติมหน้าเขื่อนวังยาง ควบคุมระดับน้ำหน้าเขื่อนร้อยเอ็ดที่ระดับ +131 ม.รทก. เพื่อส่งผลให้ระดับน้ำหน้าเขื่อนวังยางซึ่งมีระดับใกล้เคียงกันสามารถติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบสูบย้อนกลับได้ โดยมีแผนในการใช้เครื่องสูบน้ำด้วยระบบไฟฟ้า submersible จำนวน 4 เครื่อง อัตราการสูบเครื่องละ 0.5 ลบ.ม./วินาที สามารถสูบน้ำได้ประมาณวันละ 170,000 ลบ.ม.

ซึ่งมีแผนในการสูบน้ำย้อนกลับประมาณ 35 วัน โดยจะเริ่มสูบประมาณกลางเดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป จะทำให้หน้าเขื่อนวังยางสามารถเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นอีก 6 ล้าน.ลบ.ม. ซึ่งจะเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชนเมืองมหาสารคาม ไปจนถึงฤดูแล้งปี 2563 นอกจากนี้ยังจะสามารถลดการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ลงวันละ 50,000 ลบ.ม. และกรณีน้ำอุปโภคบริโภคในเมืองมหาสารคามไม่เพียงพอ

ได้วางแผนในการระบายจากเขื่อนลำปาวในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม เนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาที่เกษตรกรในพื้นที่รับน้ำเขื่อนลำปาวไม่ต้องการน้ำแล้ว โดยมีแผนในการระบายน้ำจากคลอง 4R-RMC ผ่านอาคาร wastway กม.16+890 ลงกุดซวยแล้วระบายลงแม่น้ำชีผ่าน ปตร.พนังชี กม.2+050 ซึ่งจะสามารถเติมน้ำหน้าเขื่อนวังยางได้อีกประมาณ 1 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เร่งดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคในทุกพื้นที่ รวมถึงได้สั่งการให้โครงการชลประทานเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงสถานการณ์น้ำ พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรน้ำ ใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า


/PALANCHAI TV/MOITC/ชมรมสื่อออนไลน์IT/สมนึก บุญศรี-ประธาน/0817082129-ข่าว

Related posts