ดร.เฉลิมชัย รมว.เกษตรและสหกรณ์ประธานปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 4 ล้านตัวโครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงในเขื่อนอุบลรัตน์กรมประมงเพื่อเพิ่มปริมาณชดเชยที่ลดลงให้ประมงขอนแก่นใช้อย่างยี่งยืน
/PALANCHAI TV/ชสอท.
/สมนึก-สุดสาคร-กนกวรรณ/ร้อยเอ็ด/0817082129-ข่าว
เมื่อเช้าวันที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 10:30 นณเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่นดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ โครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงในเขื่อนอุบลรัตน์กรมประมง โดยการดำเนินงานของ ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมงและคณะ พร้อมด้วย ดร.สมศักดิ์ จังตระกูล ผวจ.ขอนแก่น ส่วนราชการจังหวัดขอนแก่น นายกเทศมนตรี ผู้นำชุมชน พ่อค้า ประชาชนและชาวประมง โดยปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 4 ล้านตัวได้แก่
ปลาสร้อยขาว ปลาตะเพียน ปลาแก้มช้ำ ปลากาดำ ปลาสวาย ปลาตะเพียนทอง และกุ้งก้ามกราม
เพื่อให้ผลผลิตทางการประมงเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่า 45 ตัน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 3.5 ล้านบาท เกิดการใช้ประโยชน์ในชุมชนโดยรอบ ให้มีอาหารและรายได้ ทั้งยังเป็นการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ในเขื่อนอย่างยั่งยืนอีกด้วย พร้อมนี้ จ่าเอกศักดา สมศรี หน.วิทยุกรมประมงร้อยเอ็ด นำคณะ นิสสัย แก้วศิริ สุดสาคร เทพบำรุง กนกวรรณ อ้วนศรีเมือง วินัดดา เทพบำรุง ประยูร เสาทน(พขร.) ถ่ายทอดเสียงทางความถี่ FM 101.50MHz และรับฟังได้ทั่วโลกทาง www.esanradio.net
ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมงกล่าวรายงานว่า.-เขื่อนอุบลรัตน์เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย มีความจุ 2,263 ลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ผิวน้ำ 256,250ไร่ เขื่อนอุบลรัตน์ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรประมง ป้องกันอุทกภัย การคมนาคมและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดขอนแก่น
ในปี 2508 ก่อนการสร้างเขื่อนมีการสำรวจพบสัตว์น้ำจืดกว่า 76 ชนิดและลดลงมาเรื่อยๆ พบน้อยสุดมี27ชนิดในปี 2528 ในระหว่างปี 2508 ถึง 2559 มีการประเมินผลผลิตสัตว์น้ำพบว่ามีค่าเฉลี่ยปี 2508 เท่ากับ 19.58 กิโลกรัมต่อไร่ ในปี 2526 เพิ่มขึ้นเป็น 33.4 กิโลกรัมต่อไร่และในปี 2554 ลดลงเหลือ 6.28 กิโลกรัมต่อไร่ สาเหตุที่ทำให้ผลผลิตลดลงก็คือ ราษฎร ที่ประกอบอาชีพประมงเป็นหลักถึง 4,870 ครัวเรือน ใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมายเช่นอวน,กางกั้น,โพงพาง,รอบพับได้ และความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ บางปีมีปริมาณน้ำน้อยทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นเกิดผลกระทบ กับการแพร่พันธุ์วางไข่หรือประมาณน้ำลดลงกระทบกับแหล่งผสมพันธุ์วางไข่สัตว์น้ำโดยตรง
ทั้ง 2 สาเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้มีลูกปลารุ่นใหม่ในแต่ละปีลดลง จนไม่สามารถทดแทนอันเดิมในธรรมชาติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำ ตลอดจนฟื้นฟูพันธุ์สัตว์น้ำ ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ กรมประมงจึงได้ดำเนินการตามมาตรการ บริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ เพื่อรักษาสมดุลทั้งในด้านความหลากหลายและปริมาณให้เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีโครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเสริมกำลังการผลิตจากธรรมชาติ ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้กรมประมงเริ่มต้นปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจำนวน 4 ล้านตัว ประกอบด้วย ปลาสร้อยขาว ปลาตะเพียน ปลาแก้มช้ำ ปลากาดำ ปลาสวาย ปลาตะเพียนทองและกุ้งก้ามกราม
โดยพันธุ์สัตว์น้ำดังกล่าวจะช่วยให้ ผลผลิตทางการประมงเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่า 45 ตันมีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 3.5 ล้านบาท เกิดการใช้ประโยชน์ในชุมชนโดยรอบ ให้มีอาหารและรายได้ ทั้งยังเป็นการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ในเขื่อนอย่างยั่งยืนอีกด้วย
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวเปิดว่า.-ทรัพยากรประมงนับเป็นแหล่งอาหารโปรตีนของประชาชน ก่อให้เกิดการจ้างงาน การสร้างรายได้ ของชุมชนเปรียบได้ว่า แหล่งน้ำแห่งนี้เป็นแหล่งพึ่งพิงแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ทั้งในพื้นที่เมืองและชนบทของประเทศมายาวนาน ต่อมาสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรประมงโดยรวมของประเทศ มีแนวโน้มลดลง ด้วยหลายปัจจัย การเพิ่มประชากรลูกปลารุ่นใหม่ ตามธรรมชาติและการทดแทนประชากรรุ่นใหม่มีน้อยลง
ขอขอบคุณกรมประมงที่ มุ่งเน้นที่จะทำให้ปลาหรือทรัพยากรประมงมีกินมีใช้เพิ่มขึ้น และมีใช้อย่างยั่งยืนในอนาคต การปล่อยสัตว์น้ำจำนวน 4 ล้านตัว โดยมุ่งเน้นเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาวะแล้งต่อเนื่องและเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้คงความสมดุลทั้งในมิติของชนิดความหลากหลายและปริมาณให้เพิ่มมากขึ้น โดยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเสริมกำลังผลิตจากธรรมชาติ โดยเฉพาะกุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าสูงเป็นที่นิยมบริโภคของพี่น้องประชาชน
ขอขอบคุณทุกท่านที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้แหล่งน้ำเขื่อนอุบลรัตน์มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถตอบสนองการพัฒนาของจังหวัดขอนแก่นได้ทุกมิติ วันนี้เป็นนิมิตหมายอันดีที่พวกเราได้มาร่วมสร้างเจตนารมณ์ ความมุ่งหมายเดียวกัน ที่จะฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ขอให้โปรดช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำ ควบคู่กับการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ภายใต้กฎกติกาเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืนสืบไป
/PALANCHAI TV/ชมรมสื่อออนไลน์IT/MOITC/
/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0817082129-ข่าว
สุดสาคร เทพบำรุง-กนกวรรณ อ้วนศรีเมือง/วิทยุกรมประมงร้อยเอ็ด101.50 MHz/รายงาน