จังหวัดร้อยเอ็ดด่วนประชุมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ครั้งที่ 1/2562ทุกระยะให้ดำรงการสื่อสารตลอด 24 ชม.
/ชมรมสื่อออนไลน์IT/nuk-0817082129-
ชมรมสื่อออนไลน์ITร้อยเอ็ดประชุมด่วนแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำเน้นพื้นที่สื่อสาร24ชั่วโมง/สมนึก-ประธาน/0817082129-
-วันนี้ 22 กรกฎาคม 2562 เวลา 09.30 น. นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นประธาน “การประชุมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ครั้งที่ 1/2562 ณ ห้องประชุมพระเวสสันดร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด
โดยที่ประชุมร่วมกันพิจารณาข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากทุกอำเภอแล้ว มีข้อสรุปร้วมกัน ดังนี้
1.ให้อำเภอ ทุกอำเภอ ดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าในเบื้องต้น โดยใช้กลไกของหน่วยงานบริหารราชการแผ่นดินและกลุ่มองค์กรในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุดปฏิบัติการประจำตำบลซึ่งมีปลัดอำเภอประจำตำบลเป็นหัวหน้า พัฒนาการอำเภอ ข้าราชการครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ อสม. เป็นต้น ในการรับข้อมูลความเดือดร้อนและสร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำ สภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง และให้ประชาชนตระหนักในการใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่าและเพียงพอ
2.ให้อำเภอ ทุกอำเภอ สำรวจหมู่บ้านที่เกิดวิกฤติสถานการณ์น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นลำดับแรก โดยให้อำเภอประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยทันที
3.อำเภอใดที่มีพื้นที่เป็นที่ราบสูงและมีฝายชะลอน้ำหรือฝายมีชีวิต ให้ระดมประชาชนในพื้นที่ดำเนินการจำทำฝายพร้อมเรียงหิน เพื่อช่วยชะลอกระแสน้ำและเก็บกักน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้ผิวดิน เพื่อเตรียมพร้อมกักเก็บน้ำกรณีฝนตก โดยคาดการณ์และเตรียมพร้อมล่วงหน้า
4.พื้นที่ใดที่มีการจ่ายน้ำเป็นเวลา ให้การประปาส่วนภูมิภาควางแผนในการบริหารจัดการการจ่ายน้ำ และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึงและทันท่วงทีโดยเฉพาะแจ้งส่วนราชการในอำเภอ อปท.และกำนัน ผญบ.ทราบ เพื่อแจ้งชาวบ้าน โดยดำรงการสื่อสารให้ประชาชนทราบสถารณ์โดยตลอดและต่อเนื่องตลอดปี
5.พื้นที่ใดที่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการขุดลอก หากเกินขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการสำรวจและดำเนินการขุดลอก เพื่อให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้กับพี่น้องประชาชน โดยวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวพร้อมแจ้งชาวบ้านในพื้นที่ทราบ
6.การดำเนินการจัดทำฝนหลวง มอบให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด ประสานการดำเนินการจัดทำฝนหลวงในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นอันดับแรก และดำเนินการทั้งจังหวัดต่อเนื่องทุกอำเภอ เนื่องจากเมฆเริ่มลดระดับต่ำลงเหมาะกับการทำฝนหลวง ดังจะเห็นได้จากเมื่อวันเสาร์และวันอาทิตย์เครื่องขึ้นบิน ส่งผลให้ฝนตกทั่วทั้งจังหวัดร้อยเอ็ดในคืนวันอาทิตย์ สร้างความดีใจให้พี่น้องชาวนาได้ในเบื้องต้น
7.ให้ประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ดและสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ประชาสัมพันธ์การดำเนินการให้ประชาชนได้ทราบโดยใช้ข้อมูลที่ถูกต้องจากทุกหน่วยงาน พร้อมทั้งให้อำเภอประชุมทุกภาคส่วนรับทราบข้อมูล และสถานการณ์พร้อมดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ หากมีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดผลกระทบกับประชาชนให้เข้าถึงพื้นที่ทันที และแก้ไขปัญหาเบื้องต้น แล้วรายงานหรือขอรับการสนับสนุนจากจังหวัดหากเกินศักยภาพ
8.ให้ดำรงการสื่อสารตลอด 24 ชม. พร้อมประสานข้อมูลกับฝ่ายเลขาฯ พร้อมแจ้งข้อมูลให้ประชาชนทราบทุกวัน เพื่อให้ประชาชน และอปท.ได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์และเผชิญเหตุด้วยความมั่นใจ และมีข้อมูลที่ถูกต้อง
ฝ่ายเลขาฯ ศบก.ภัยแล้ง จ.รอ. ปี 2562
/ชมรมสื่อออนไลน์IT/สมนึก บุญศรี-ประธาน/0817082129-ข่าว
Cr.ภัทรายุ สนง.ปภ.รอ-ภาพ