ร้อยเอ็ดเปิดปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำชีเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำสู่ความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน /PALANCHAI TV/ชสอท.:MOITC./nuk/0817082129-ข่าว.

ร้อยเอ็ดเปิดปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำชีเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำสู่ความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

/PALANCHAI TV/ชสอท.:MOITC./nuk/0817082129-ข่าว.


ร้อยเอ็ดเปิดปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำชีเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
/PALANCHAI TV/ชสอท.:MOITC./สมนึก-ประธาน/0817082129-ข่าว.

เมื่อเช้าวันนี้ 14 ม.ค. 2563 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมประดับเพชร โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น ต.เหนือเมือง อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธาน เปิดปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำชี
พร้อมด้วย นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดยการดำเนินงาน ของ นายธีรคมน์ อริยสุนทร ผู้อำนวยการทรัพยากรณ์น้ำแห่งชาติ ภาค 3 และคณะ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน

นายธีรคมน์ อริยสุนทร ผู้อำนวยการทรัพยากรณ์น้ำแห่งชาติ ภาค 3 กล่าวรายงานว่า.-ลุ่มน้ำชีครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50,000 กิโลเมตรหรือประมาณ 31 ล้านไร่อยู่ในเขตพื้นที่ 13 จังหวัดได้แก่ชัยภูมินครราชสีมา เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษและอุบลราชธานี โดยมีปริมาณฝนรายปีประมาณ 1, 200 มิลลิเมตรและปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ความสามารถในการเก็บกักน้ำของลุ่มน้ำมีเพียง 5,700 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ความต้องการน้ำในปัจจุบันสูงถึง 9,000 ล้าน ลบ.ม. ลุ่มน้ำชีจึงประสบปัญหาเรื่องภัยแล้งตลอดมา รวมถึงปัญหาน้ำเสีย ที่เกิดจากปล่อยน้ำทิ้งของชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม การใช้สารเคมีทางการเกษตร ลงแหล่งน้ำและสภาพพื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม


จากสภาพปัจจุบันของลุ่มน้ำชีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติหรือสนทช. จึงเห็นความจำเป็นของการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำชี เพื่อประเมินศักยภาพและข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อม ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชี ที่สามารถนำไปสู่ความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในมิติของเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการลุ่มน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบ เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีระหว่างพ. ศ. 2561 ถึง 2560
วันนี้เป็นการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษาและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำชี รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นในกระบวนการคิดร่วมกัน ตลอดจนการให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการ ซึ่งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะผู้ศึกษาพร้อมรับฟัง และจะได้นำไปพิจารณาประกอบการศึกษาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานกล่าวว่า.-นับเป็นโอกาสอันดีสำหรับท่านผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษาทุกท่าน ที่ได้มาร่วมรับทราบความจำเป็นของการศึกษา รวมทั้งความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของโครงการ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำชี เพื่อประเมินศักยภาพและข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม และนำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำชี เพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
สำหรับช่วงท้ายของการประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็นซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญ ขอให้ทุกท่านได้ใช้วิธีในการแสดงความคิดเห็น ร่วมคิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะผู้ศึกษาและนำข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของท่าน ไปพิจารณาประกอบการศึกษา และพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชากรชาวอีสานต่อไป
นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวว่า.-เรายังไม่สามารถทำงานให้ตรอบคลุมในทุกพื้นที่ ค่อนข้างจะมีปัญหาจึงมาศึกษา ภาพรวมเกษตรกรจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง เป็นทิศทางให้หน่วยงานลงมาดำเนินการในรายละเอียดต่อไป เช่น นอกเขตชลประทานทำอะไรได้บ้าง ลุ่มน้ำชีจะจัดการน้ำอย่างไร เพื่อให้ลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จะดำเนินการทุกพิ้นที่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในการใช้ประโยชน์
ฝากบอกไปยังเกษตรกร นอกเขตชลประทาน ให้ใช้แบบเกษตรพอเพียง ใช้น้ำน้อย เกษตรปราณีตให้คุณค่าสูง วิชาหกิจชุมชนร่วมกันทำได้ เพราะพื้นที่มีข้อจำกัด

/PALANCHAI TV/ชมรมสื่อออนไลน์IT/สมนึก บุญศรี-ประธาน/0817082129-รายงาน

Related posts