ร้อยเอ็ดเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้งแจ้งสภาพน้ำในลำน้ำการใช้น้ำประปาพร้อมใช้
/PALANCHAI TV/ชสอท./nuk/0817082129-รายงาน
ร้อยเอ็ดเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้งแจ้งสภาพน้ำในลำน้ำการใช้น้ำประปาพร้อมใช้
/PALANCHAI TV/ชสอท./สมนึก-ประธาน/0817082129-ข่าว.
เมื่อเช้าวันนี้ 7 ม.ค. 2563 เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุมพระเวสสันดร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธาน ประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์เหตุการณ์ภัยแล้งจังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี พ.ศ. 2563 เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้ง ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการดำเนินงานของ นายเกรียงไกร จิตธรรม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ดและคณะ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอทุกอำเภอ โครงการส่งน้ำ ชลประทาน การประปา อุตุนิยมวิทยา และส่วนที่เกี่ยวข้อง
ในที่ประชุมได้แจ้งการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ได้แก่ แจ้งข้อสั่งการของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ การเตรียมการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้ง ปี 2562-2563,คำสั่งจัดตั้งศูนญ์บัญชาการเหตุการณ์ภัยแล้งจังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2563,คำสั่งแบ่งพื้นที่รับผิดชอบกรณีเกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด,สถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2562-2563
เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2562-2563 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงให้จังหวัดดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้
1) ใช้กลไกระบบบัญชาการเหตุการณ์ตามกฎหมายและแผนว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยแบ่งเป็น
3 กลุ่มภารกิจหลัก ประกอบด้วย- กลุ่มพยากรณ์ โดยมีคณะทำงานติดตามสถานการณ์ของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด- กลุ่มบริหารจัดการน้ำ โดยดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการ/คณะทำงานของจังหวัด มีหน่วยงานด้านการบริหารจัดการน้ำเป็นฝ่ายเลขานุการ- กลุ่มปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยบูรณาการหน่วยปฏิบัติการจากทั้งฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร ตลอดจนภาคเอกชน เข้าดำเนินการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
2) จังหวัดร้อยเอ็ดได้มีคำสั่งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด
ที่ 14/๒๕63 ลงวันที่ 6 มกราคม 2562 จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ภัยแล้งจังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี พ.ศ. ๒๕63 โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
– คณะกรรมการอำนวยการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ ประกอบด้วย ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานศูนย์ฯ และหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นกรรมการ/เลขานุการ มีหน้าที่ กำหนดนโยบาย เป้าหมายและแนวทางปฏิบัติการดำเนินการช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยแล้ง ควบคุม กำกับดูแล ชี้แนะ และตรวจสอบ การปฏิบัติงานของศูนย์ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยแล้งเขตท้องที่ต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และ ปฏิบัติภารกิจอื่น ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
– คณะทำงานติดตามสถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานร้อยเอ็ด เป็นหัวหน้าคณะทำงาน มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นคณะทำงาน และหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นคณะทำงาน/เลขานุการ มีหน้าที่ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์สภาวะอากาศ สภาพน้ำท่า ในพื้นที่ รวบรวมรายงานสถานการณ์ หากเห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดสถานการณ์ภัยแล้งขึ้นในพื้นที่ให้เสนอผู้มีอำนาจตามกฎหมายดำเนินการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ได้ทันท่วงที และปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่หัวหน้าคณะทำงานติดตามสถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมาย
– เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์บัญชาการฯ ประกอบด้วย หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหัวหน้าชุด มีหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าฝ่าย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงาน เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ มีหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ โดยมอบให้หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้จัดอัตรากำลังหมุนเวียนในการอยู่ปฏิบัติงานตามความเหมาะสม ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการช่วยเหลือราษฎรให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวบรวมข้อมูลภัยแล้งและรายงานสถานการณ์ภัยแล้ง ให้ผู้บังคับบัญชาและส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ และปฏิบัติภารกิจอื่น ตามที่คณะกรรมการศูนย์บัญชาการฯ มอบหมาย
3) จังหวัดร้อยเอ็ด มีคำสั่งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ 15/2563 ลงวันที่ 6 มกราคม 2563 แบ่งพื้นที่รับผิดชอบกรณีเกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้น และบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่
สถานการณ์น้ำแหล่งน้ำต่างๆ เขื่อนอุบลรัตน์มีน้ำน้อยต้องสูบน้ำลำปาวกลับช่วยต้นน้ำที่รองรับเขื่อนอุบลรัตน์,โครงการชลประทาน ส่งน้ำและบำรุงชีกลาง ส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ มีน้ำเพียงพอ,น้ำประปาภูมิภาค ได้เตรียมพร้อมเพิ่มปริมาณน้ำรองรับการใช้น้ำให้เพียงพอแล้ว
/PALANCHAI TV/MOITC/ชมรมสื่อออนไลน์IT/สมนึก บุญศรี-ประธาน/0817082129-ข่าว