พุทธศาสนิกชนจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ปี 2562
/ชมรมสื่อออนไลน์ IT/nuk-komgrich/0817082129-
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 เวลา06.30 น. ที่ลานสาเกตนคร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ บึงพลาญชัยร้อยเอ็ด นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย นายทวี จงประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พันโท ถนอม วงษ์พิมล ผู้แทนรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดร้อยเอ็ด ข้าราชการตุลาการ อัยการ หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ ตลอดจนประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกันทำบุญตักบาตรเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา โดยมีพระธรรมฐิติญาณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 ธรรมยุต เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว
อาสาฬหบูชา คือ อาสาฬห (เดือน 8 ทางจันทรคติ) กับ บูชา (การบูชา)เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 8 วัน หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้วได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง
จึงทรงพิจารณา แบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท คือ อุคฆติตัญญู ผู้ที่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สั่งสอน เปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานเมื่อได้ได้รับแสงอาทิตย์ในวันนั้น วิปัจจิตัญญู สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านได้ขยายความให้พิสดารออกไป เปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จะบานในวันรุ่งขึ้น เนยยะ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรมวิเศษเปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ แต่เมื่อได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำแล้ว ก็ย่อมจะโผล่และบานขึ้นในวันต่อ ๆ ไป ปทปรมะ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่องแล้ว ก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำกับเปือกตม รังแต่จะเป็นอาหารเต่าและปลา
ทั้งนี้ แต่เดิมวันนี้ไม่มีพิธีพิเศษ คงเนื่องมาจากวันก่อนเข้าพรรษาเพียงวันเดียว ต่อมาสังฆมนตรี มีมติให้ชาวพุทธประกอบการบูชาเป็นพิเศษในวันนี้ และเรียกว่า “วันอาสาฬหบูชา” นับแต่ปี พ.ศ. 2504 จนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชาพวกเราชาวพุทธ ต่างก็ประกอบการบูชาเป็นพิเศษตลอดวันนั้น นับตั้งแต่รับศีล ฟังเทศน์ สนทนาธรรม สวดมนต์ เดินเวียนเทียนพระพุทธสถาน เช่น รอบโบสถ์ วิหาร เจดีย์ หรือต้นศรีมหาโพธิ เป็นต้น ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า รักษาศีล ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศน์ และ เวียนเทียนที่วัดในตอนค่ำ
/ชมรมสื่อออนไลน์ IT/สมนึก บุญศรี-ประธาน/0817082129-ข่าว
คมกฤช พวงศรีเคน-บริหาร/ภาพ