ร้อยเอ็ดศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ประชุมรับทราบปัญหาด้านภัยแล้งบินสำรวจความเสียหายในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด /ชมรมสื่อออนไลน์IT/nuk-0817082129-

ร้อยเอ็ดศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ประชุมรับทราบปัญหาด้านภัยแล้งบินสำรวจความเสียหายในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด

/ชมรมสื่อออนไลน์IT/nuk-0817082129-

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 12 กรกฏาคม 2562 ที่ห้องรับรอง ท่าอากาศยานจังหวัดร้อยเอ็ด นางสาววาสนา วงษ์รัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ลงพื้นที่ จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง มีนายสมบูรณ์ พกฤากันทรากร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้แทนเกษตรจังหวัด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด ประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีกลาง พร้อมหน่วยนักบินหน่วยปฎิบัติการฝนหลวง ได้ประชุมรับทราบปัญหาด้านภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อหาทางช่วยเหลือวิกฤตภัยแล้ง

โดย นางสาววาสนา วงษ์รัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า การทำฝนหลวงช่วงหน้าแล้ง ก็มีโอกาสที่จะได้รับความสำเร็จน้อยเนื่องจากไม่มีเมฆ ขาดความชื้นสัมผัสในอากาศ จะทำให้การทำฝนเทียมไม่ได้ผล
เสนอทางออกว่าจะต้องแก้ปัญหาลงมาที่ระบบน้ำบนผิวดิน มากกว่าทางอากาศด้วยการให้ประสานกันระหว่าง อบจ.กับชลประทาน โดยให้ อบจ.นำเครื่องจักรกล ไปทำการขุดลอกร่องน้ำ
และให้ชลประทานประสานไปยังเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ และเขื่อนอื่นๆ ปล่อยน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะทำได้ในปัจจุบัน ที่เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง เพื่อรอโอกาสที่จะมีฝน และรอสภาพอากาศให้มีความชื้นที่เหมาะสม ที่จะดำเนินการทำฝนเทียม จึงจะเข้ามาดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ได้

และจากสภาพสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ประชุมสรุปว่าจะต้องแก้ปัญหา ด้านน้ำบนผิวดินจากแหล่งน้ำตามลำน้ำหลัก ที่ต้องประสานกับเขื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีพื้นที่ทำการเกษตร 3.2 ล้านไร่และมีพื้นที่ทำการเกษตร กว่า 2แสน 1 หมื่นไร่ ล่าสุดจากการติดตามสถานการณ์พบว่า ร้อยละ 70 % กำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยน้ำ
และปัจจุบันเขื่อนลำปาว อาจจะเอื้อประโยนช์ได้ไม่มาก เพราะ มีน้ำในอ่างฯเพียง 558 ล้านลูกบาศก์เมตร(ล้าน ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 458 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น ในขณะที่พื้นที่นอกเขตชลประทานทั้งสองฝั่งแม่น้ำชี เกษตรกรยังคงมีความต้องการใช้น้ำเพื่อทำการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝนเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำชีลดลงอย่างรวดเร็ว จนเกินกว่าที่จะเอื้อประโยชน์ให้ได้ทั้งหมด หากไม่ชะลอ การสูบน้ำเข้าไปเลี้ยงนาข้าว และข้าวนาปรังในช่วงนี้ไปก่อน

/ชมรมสื่อออนไลน์IT/สมนึก บุญศรี-ประธาน0817082129-ข่าว
CR.บุญมี เพ็งรัตน์ สนง.ปชส.รอ.-ภาพ

Related posts