PTV/”เอกภาพ”โฆษกฯเผยกษ.เตือนเกษตรกรเตรียมรับมือฤดูฝน ระวังน้ำท่วมฉับพลัน ลมแรงต้องผูกยึดคํ้ายันกิ่งไม้ผลโรงเรือนให้มั่นคงป้องกันโรคพืชจากเชื้อราป้องกันน้ำฝนไหลลงบ่อสัตว์น้ำ
/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว
วันนี้ (15 พ.ค.)นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศให้วันนี้ (15 พ.ค.) เป็นวันเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ปี 2568 อย่างเป็นทางการ “โดย 15 – 17 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง 60–70 % ของพื้นที่กับมี ฝนตกหนัก บางแห่ง ในช่วง 18 – 20 พ.ค. 68 จะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ต้องระวังนํ้าท่วมฉับพลัน นํ้าป่าไหลหลาก” จึงขอให้เกษตรกร เฝ้าระวังนํ้าท่วมฉับพลัน ฝนฟ้าคะนองลมแรงต้องผูกยึดคํ้ายันกิ่ง ของไม้ผล ให้มั่นคงแข็งแรง
.
ภาคเหนือ
-ระวัง อันตรายจาก นํ้าท่วมฉับพลัน นํ้าป่าไหลหลาก
– ปรับปรุง/ทําทางระบบระบายนํ้าในแปลงปลูก
– ระวังความชื้นที่สะสมในโรงเก็บ อาจทําให้เกิดเชื้อรา
ภาคกลาง
– เปิดเครื่องตีนํ้าเพื่อป้องกันนํ้าแยกชั้น
– ไม่ควรปล่อยให้นํ้า ชะดินลงไปในบ่อเลี้ยงโดยตรง
– ทําทางระบายนํ้าในแปลงปลูก ให้มีประสิทธิภาพ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– ระวัง เชื้อราใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
– ไม่ปล่อยสัตว์เลี้ยงในที่โล่งแจ้ง ขณะฝนฟ้าคะนอง
– หลีกเลี่ยงการเดินลุยนํ้า เพื่อป้องกัน โรคฉี่หนู
ระวัง อันตรายจาก นํ้าท่วมฉับพลัน นํ้าป่าไหลหลาก
– ผูกยึด/คํ้ายันกิ่ง ของไม้ผล ให้มั่นคงแข็งแรง
– ดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ภาคใต้
– ระวัง อันตรายจาก นํ้าท่วมฉับพลัน นํ้าป่าไหลหลาก
– ระวัง เชื้อราใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
– ชาวเรือ ระวังการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ย้ำเตือนเนื่องจากระยะนี้ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ควรปรับปรุงและทำทางระบายน้ำในแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้นพืชนาน ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว รวมทั้งควรระวังความชื้นที่สะสมในโรงเก็บที่อาจทำให้เกิดเชื้อราไว้ด้วย
ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมและดูแลแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกชื้นหนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะภาคอีสานต้องระวัง!โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ
ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรนำไปพักในบ่อพักก่อน แล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อีกทั้งหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ
สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรครากขาว โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น อนึ่ง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง
ส่วนบางพื้นที่ที่ฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรนำเมล็ดพันธ์คลุกด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราก่อนปลูก เพื่อป้องกันการเน่าของเมล็ดก่อนงอกและโรคเน่าคอดินในระยะต้นกล้า
PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว
0957579184
เอกภาพ พลซื่อ:ข้อมูลข่าว