‘เอกภาพ’โฆษก กษ. ย้ำเตือนเกษตรกรห้ามเผาช่วง 17 ม.ค.68 -31 พ.ค.68 ติดตามใช้ข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) จาก GISTDAหากพบจะไม่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการสนับสนุน ทุกโครงการ /PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว

‘เอกภาพ’โฆษก กษ. ย้ำเตือนเกษตรกรห้ามเผาช่วง 17 ม.ค.68 -31 พ.ค.68 ติดตามใช้ข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) จาก GISTDAหากพบจะไม่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการสนับสนุน ทุกโครงการ

PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว

นายเอกภาพ พลชื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวว่า นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนามในประกาศมาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ( PM2.5) ภาคการเกษตร  โดยคุณสมบัติของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ “สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเกษตรกร” จะต้องไม่มีประวัติทำการเผาในพื้นที่การเกษตรในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2568 – 31 พฤษภาคม 2568 ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลของเกษตรกรที่ทำการเผาในพื้นพื้นที่ โดยประสานขอรับการสนับสุนจากคณะกรรมการหมู่บ้านให้พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเผา หากพบว่าเกษตรกรที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ มีประวัติการเผาในพื้นที่การเกษตร ให้ถือว่าขาดคุณสมบัติ จะไม่ได้รับสิทธิในการเข้าร่วมโครงการสนับสนุน และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรทุกโครงการ โดยเป็นการขาดคุณสมบัติ ในการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเกษตรกร นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2568  ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2570

นายเอกภาพ ระบุว่า ก.เกษตรฯ ติดตามใช้ข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) จาก GISTDA ในการตรวจสอบสถานการณ์การเผาในพื้นที่เกษตรอย่างเป็นระบบ ขณะนี้ พบจุดความร้อน และหลายพื้นที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จึงขอย้ำให้เกษตรกร “งดการเผา” เนื่องจากมีความผิด เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฏหมาย กับผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้อยากให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชเป็นการปลูกแบบไม่เผา การปลูกทดแทนจากพืชล้มลุก เป็นพืชที่มีมูลค่าสูง เช่น กาแฟ มะคาเดเมีย อะโวคาโด มะม่วง หรือไม้ยืนต้นที่ไม่โตเร็ว สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ดี และการปลูกทดแทนในพื้นที่นาปรัง  เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถสร้างความมั่นคงในอาชีพอย่างยั่งยืน ภายใต้การสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม


ทั้งนี้ในปี 2568 กระทรวงเกษตรฯ ขับเคลื่อนมาตรการรับมือสถานการณ์ ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ที่สำคัญ คือ

-จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกรายชนิดของพืชเกษตร ที่เสี่ยงต่อการเผาโดยเฉพาะ  เพื่อนำไปสู่การวางแผนในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรที่เสี่ยงการเผาไหม้

-จัดทำประกาศขึ้นทะเบียนรายชื่อเกษตรกร โดย พื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ในพื้นที่สูง พื้นที่ที่ต้องการกำจัดศัตรูพืช ในช่วงตั้งแต่ 15 พ.ย. 2567-15 พ.ค.2568 ผ่านระบบ Application FireD หรือ Burn Check พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเพื่อควบคุมกำกับดูแลการเผา เช่น ไม่เผาข้ามคืน ทำแนวกันไฟโดยรอบ และควบคุมไม่ให้ไฟลุกลาม

-กำหนดสิทธิประโยชน์สร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรแบบไม่เผา เพิ่มสิทธิพิเศษต่อเอกชนที่รับซื้อสินค้าเกษตรแบบไม่เผา

-จัดทำฐานข้อมูลการประเมินวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แยกรายเดือนเน้นในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค.2568 ใน 3 พืชสำคัญ คือ ข้าว อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

-ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ และร่วมมือกับภาคเอกชนในการสนับสนุน มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาการเผาอย่างยั่งยืน และจัดชุดปฏิบัติการลงพื้นที่ สร้างความเข้าใจในระดับหมู่บ้าน โดยใช้ข้อมูลเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม จุดความร้อน ร่องรอยการเผาไหม้ปีที่ผ่านมา  โดยแบ่งการดำเนินงานให้สอดคล้องตามช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต

PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว
0957579184
เอกภาพ พลซื่อ:ข้อมูลข่าว

Related posts