“เอกรัฐ”ร่วมงานกฐินอำเภอจังหาร อยากเป็นเศรษฐี ห้ามพลาดบุญนี้ (มีแค่ปีละครั้ง)
PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว
27 ตุลาคม 2567 เวลา 12:00 น. นายเอกรัฐ พลซื่อ ร่วมทำบุญงานบุญกฐินอำเภอจังหาร ณ วัดนิคมฆนาวาส ตำบลดงสิงห์ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ดดำเนินงานโดยนายนิยม ผาเจริญ กำนันตำบลดงสิงห์
กฐิน เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นกิจกรรมทางพระวินัยที่พระภิกษุสงฆ์พึงกระทำร่วมกันเป็นสังฆสามัคคีภายในระยะเวลาที่กำหนด คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือ
ระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท
อานิสงส์ของผู้ทอดถวายผ้ากฐิน
สร้างความสามัคคีในระหว่างพุทธบริษัท
เป็นการสั่งสมทุนคือบุญกุศลไว้ในภายภาคหน้าได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ตามพระวินัยซึ่งเป็นไปตามพระบรมพุทธานุญาต
เป็นการรักษาประเพณีที่ดีงามสืบกันไป
เป็นการบูชาพุทธโอวาทของพระบรมศาสดาทำตนให้เป็นประโยชน์ สละทรัพย์ให้มีประโยชน์ต่อพุทธศาสนา
เป็นการสร้างทางไปสวรรค์และนิพพานให้แก่ตนเอง
เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี เมื่อมีวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี เมตตาบอกเคล็ดลับแก่ศิษยานุศิษย์ว่า หากใครปรารถนาความร่ำรวยระดับเศรษฐี มีวาสนาดี เงินทองคล่องมือ ไม่มีวันตกต่ำ ขอให้ร่วมเป็นเจ้าภาพในการทอดกฐิน ผ้าป่าติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีติดกัน
การร่วมเป็นเจ้าภาพนั้น ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นถึงประธานหรือกรรมการที่มีการกำหนดกันว่าต้องบริจาคเงินเท่านั้นเท่านี้ แต่การร่วมเป็นเจ้าภาพนั้นหมายถึง เป็นกฐินสามัคคีที่ทุกคนร่วมเป็นเจ้าภาพได้ จะร่วมเป็นเจ้าภาพใส่ซองหนึ่งบาทหรือพันบาท ก็ถือว่าร่วมเป็นเจ้าภาพได้บุญทั้งสิ้น แต่ใครจะได้บุญมากหรือน้อย พิจารณาจากจิตอันเป็นกุศล ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการถวาย เงินทำบุญที่บริสุทธิ์ และความพยายาม ซึ่งก็แล้วแต่บุญและกรรมของคนที่ทำ
PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว
0957579184