“เอกภาพ” โฆษกกระทรวงเกษตรฯ ยืนยัน น้ำไม่ท่วม กทม. และปริมณฑล ชั้นในแน่นอน แต่อาจจะมีผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ/PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว

“เอกภาพ” โฆษกกระทรวงเกษตรฯ ยืนยัน น้ำไม่ท่วม กทม. และปริมณฑล ชั้นในแน่นอน แต่อาจจะมีผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ

PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว

วันนี้ (7 ต.ค.67) นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) นายธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา พร้อมผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1 – 17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ


โฆษกกระทรวงเกษตรฯ ยืนยัน น้ำไม่ท่วม กทม. และปริมณฑล ชั้นในแน่นอน แต่อาจจะมีผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ ประเมินปรับแผนการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาออก2ฝั่ง ให้สอดคล้องกับน้ำเหนือและฝนที่ตกในพื้นที่
โดยสรุปขณะนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว และจะไหลลงสู่เขื่อนภูมิพลทั้งหมด ทำให้เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มมากขึ้น สำหรับสำรองไว้ใช้ฤดูแล้งหน้าได้อย่างเพียงพอ กรมชลประทานรายงาน น้ำท่วมที่เชียงใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่องไม่เกิน 2-3 วันสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะนี้เร่งสูบน้ำและฟื้นฟู

ด้านสถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 19,650 ล้าน ลบ.ม. (79% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 5,221 ล้าน ลบ.ม. กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จึงได้บริหารจัดการน้ำที่ไหลมาจากทางตอนบน ด้วยการเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด พร้อมบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตอนกลาง ด้วยการหน่วงน้ำไว้ในพื้นที่ลุ่มต่ำและแก้มลิงธรรมชาติ ส่วนปริมาณน้ำที่เหลือจะไหลลงสู่ลุ่มเจ้าพระยา ที่สถานีวัดระดับน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ คาดการณ์ว่าในช่วง 1 – 7 วันข้างหน้า ที่สถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 2,200 – 2,500 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยายกตัวสูงขึ้นตามไปด้วย


ซึ่งกรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตามศักยภาพของคลองและสอดคล้องกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ พร้อมควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 2,400 ลบ.ม./วินาที ในช่วงนี้ เพื่อลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนให้ได้มากที่สุด ซึ่งการระบายน้ำในอัตราดังกล่าว จะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น


ในขณะที่พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ที่สถานีวัดน้ำ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 1,990 ลบ.ม/วินาที หรือคิดเป็น 70% ของความจุลำน้ำ ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าว ยังไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่อาจจะมีผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ หรือในพื้นที่ที่มีระดับตลิ่งต่ำ ในช่วงที่มีน้ำทะเลหนุนสูง
“เชื่อว่ายังไม่วิกฤต ลำน้ำเจ้าพระยารองรับมีปริมาณ 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาที แต่น้ำที่สถานีบางไทร 2,000 ลบ.ม.ต่อวินาที ยังมีช่องว่าง 1,500 ลบ.ม.ถ้าไม่มีน้ำทะเลหนุน” นายเอกภาพกล่าว


อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลที่อยู่ในแนวคันกั้นน้ำ กรมชลประทานได้ติดตามสถานการณ์น้ำฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำด้วยการพร่องน้ำในคลองสาขาต่าง ๆ ตลอดจนบูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานคร ในการบริหารจัดการน้ำในจุดที่เชื่อมต่อกัน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนและปริมาณน้ำในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด

PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/รายงาน
0957579184
เครดิตข่าว:ข่าวออนไลน์7HD
เอกภาพ พลซื่อ:ข้อมูลข่าว

Related posts