ชาวคุ้มวัดสระแก้วร้อยเอ็ดสืบทอดพระพุทธ ศาสนาทำบุญเวียนเทียนวันวิสาขบูชาเพื่อความเป็นศิริมงคล
PTV101//สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว
ในวันวิสาขบูชา ปีพุทธศักราช 2567 ชาวคุ้มวัดสระแก้ว ต.ในเมือง อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด พระครูปริยัติวัฒนโชติ,ดร.เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว,รองเจ้าคณะอำเภอเมืองร้อยเอ็ด นำคณะพระสงฆ์ พุทธศาสนิกชนชาวคุ้มวัดสระแก้วและใกล้เคียง ทำบุญเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาทำบุญเวียนเทียนวันวิสาขบูชา โดย นายกรกช กลิ่นขจร ไวยาวัจกร และคณะกรรมการวัด ชาวบ้าน โดยเริ่มกิจกรรม ตั้งแต่เย็นวันอังคารที่ 21 พ.ค.พุทธศักราช 2567 วันขึ้น 14 ค่ำเดือน 6 ปี มะโรง รวมใจก่อพระเจดีย์ทราย เจริญพระพุทธมนต์เย็น ทำบุญสักการะญาติผู้ล่วงลับ
ในวันวิสาขบูชา ปีพุทธศักราช 2567 ตรงกับวันพุทธที่ 22 พ.ค.พุทธศักราช 2567 ตรงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปี มะโรง โดยหลังวัดปฏิบัติของพระสงฆ์ เป็นกิจกรรมวันวิสาขบูชา พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญตักบาตร พิธีบังสุกุล พิธีหยาดน้ำทำบุญ ถวายปัจจัยไทยทาน พิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สักการะอัฐิธาตุญาติๆผู้ล่วงลับไปแล้ว พร้อมกราบไหว้พระที่บ้านปฏิบัติธรรมถือศีล5 ปฏิบัติสมาธิเพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา สำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก เป็นวันหยุดราชการในหลายๆ ประเทศ อีกทั้งยังเป็นวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ ได้แก่ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นตรงกัน ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
ความสำคัญของวันวิสาขบูชา
คำว่า ‘พุทธ’ หรือ ‘พุทธิ’ ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีความหมายเหมือนกัน แปลว่า ปัญญา หรือ การตรัสรู้
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส (เดือน 6) บรรจบกันทั้ง 3 คราว ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั่นเอง ได้แก่
เช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ
เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ภายหลังจากการออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
ภายหลังจากการตรัสรู้ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออกประกาศพระธรรมวินัย และโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี เมื่อมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา พระองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ (อริยสัจ 4) หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่…
1. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
2. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง 4 ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว
0866436277