ร้อยเอ็ดจัดงานสืบสานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ที่อำเภอธวัชบุรี ประจำปี 2566
PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว
เมื่อวันนี้ 3 ก.พ. 2566 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด นายสนอง ดลประสิทธิ์ รองผู้วาราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธาน พร้อมด้วย สว.รณวริทย์ ปริยฉัตรตระกูล ส.ส.ฉลาด ขามช่วง นายเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ นายก อบจ.ร้อยเอ็ด ท่านผู้มีเกียรติ เปิดงาน ประเพณี “บุญกุ้มข้าวใหญ่อำเภอธวัชบุรี” ประจำปี 2566 โดยนายดำรงค์ศักดิ์ นาคีสังข์ นายอำเภอธวัชบุรี พร้อมด้วย ส่วนราชการ ท้องที่ ท้องถิ่น และชาวอำเภอธวัชบุรี จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2566 รวม 2 วัน มีพิธีพราหมณ์บายศรีสู่ขวัญข้าวทุกปี พิธีบูชาแม่พระโพสพ ก่อนที่จะลงมือทำนาหรือระหว่างตกกล้า จนข้าวตั้งท้องออกรวง ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวในที่สุด
นายดำรงค์ศักดิ์ นาคีสังข์ นายอำเภอธวัชบุรี รายงานว่า การทำพิธีบูชาแม่พระโพสพนั้น ในสมัยต่อมานิยมทำกัน เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว โดยนำข้าวมากองไว้กลางลานนวด แล้วทำพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าวหรือเมื่อนวดข้าวเสร็จจะได้ข้าวเปลือกกองใหญ่ กลางลานนวด ชาวอีสานเรียกกองข้าวเปลือกใหญ่ว่า กุ้มข้าวใหญ่ และจะทำพิธี ทางพราหมณ์ตามประเพณีปฏิบัติของบรรพชนเรียกว่า “พิธีรับขวัญข้าว” เพราะถือคติความเชื่อว่า ขณะที่เราทำนาเกี่ยวข้าวและนวดข้าว เราใช้เท้าเหยียบย่ำข้าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง ร่วมทำพิธีบูชาแม่พระโพสพ เพื่อขอขมาจะได้ เป็นสิริมงคลต่อตนเอง และครอบครัวให้มีแต่ความผาสุก
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่สืบไป และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอวัชบุรี โดยในงานจัดให้มีกิจกรรม ดังต่อไปนี้ การเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีสู่ขวัญข้าว การจัดแสดงสินค้า OTOP การประกวดการทำพานบายศรี การประกวดแข่งขันกองข้าวใหญ่ การแสดงศิลปะพื้นบ้านของแต่ละตำบลต่าง ๆ รำวงย้อนยุค โชว์พ่อพันธุ์กระบือการประกวดเถียงนา การประกวดแข่งขันตำส้มตำลีลาเพื่อสุขภาพ แข่งขันสนูว่าว การประกวดร้องเพลงผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ พร้อมหางเครื่องท้องที่ท้องถิ่น
นายสนอง ดลประสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธาน กล่าวว่า ตนเป็นลูกชาวนาเกิดที่อำเภอธวัชบุรีนี้ ดีใจที่มีโอกาสมาสัมผัสบรรยากาศของชาวนา ทั้งกองข้าว ซุ้มฟาง เถียงนา สนูว่าว
ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันสืนสานประเพณีฮีต12 คอง14ของเรา บุญกุ้มข้าวใหญ่อำเภอธวัชบุรีหรือบุญคูณลาน เป็นการย้อนเอาวิถีชีวิตของบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย มาอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้เห็น ได้ดู ได้ศึกษา แทนบุญคูณลานที่ค่อย ๆ เลือนหายไป และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตแบบ “พออยู่ พอกิน” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0885730542-ข่าว