ดร.เอกภาพ พลซื่อ คนของประชาชนร่วมงานประเพณีบุญบั้งไฟชาวร้อยเอ็ดเพื่อขอฟ้าขอฝนก่อนฤดูทำนาอย่างต่อเนื่อง
PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด-ข่าว
ในช่วงนี้ชาวร้อยเอ็ด มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ เพื่อขอฟ้าขอฝนก่อนฤดูทำนาในเดือนหกของทุกปี ในปีนี้วันแรกของเดือน6 ตรงกับวันขึ้น1ค่ำเดือน6 วันที่ 1 เดือนพฤษภาคม 2565 ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวบ้านในอำเภอต่างๆ ได้จัดประเพณีบุญบั้งไฟ น้อย ใหญ่ ตาม ความพร้อม ผม นายสมนึก บุญศรี สื่อมวลชนร้อยเอ็ด ได้ทราบการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ จากท่าน ดร.เอกภาพ พลซื่อ ที่ลงพื้นที่ร่วมงานของชาวบ้านอยู่เรื่อยๆ โดยในเดือน มิถุนายน 2565 นี้จัดกันบ่อยมาก เพราะเป็นเดือนท้ายๆก่อนทำนา เมื่อวันที่11 มิถุนายน 2565 บุญบั้งไฟที่ตำบลน้ำคำ อ.สุวรรณภูมิ บุญบั้งไฟบ้านนาทม ตำบลภูเงิน อ.เสลภูมิ และวนที่12 มิถุนายน 2565 งานประเพณีบุญบั้งไฟ ตำบลนาใหญ่ อ.สุวรรณภูมิ ดร.เอกภาพ ได้ลงพื้นที่ร่วมงานกับชาวบ้าน สมกับคำว่าคนของประชาชน
จึงขอโอกาสนี้ บอกเล่าประเพณีบุญบั้งไฟตามที่รวบรวมมาได้
งานบุญบั้งไฟ มีตำนาน พระญาคันคาก พญาแถน และ ผาแดง-นางไอ่
งาน บุญบั้งไฟ ประเพณีขอฝน ตำนาน พระยาคันคาก พญาแถน ของชาวอีสาน บ้านเฮา
ประเพณี บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญของภาคอีสานบ้านเราที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถือเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสานที่ทำกันในเดือน 6 ช่วงเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูทำนา จะมีการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า พญาแถน หรือ เทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง มีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์นั่นเอง
ความเชื่อของ ประเพณีบุญบั้งไฟ ปรากฏอยู่ใน ตำนานเรื่องพญาคันคากและเรื่องผาแดงนางไอ่ มีการกล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน โดยเฉพาะในเรื่องพญาคันคาก ซึ่งตำนานนั้นมีอยู่ว่า…
พญาคันคาก เป็นพระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นโอรสของกษัตริย์ เหตุที่ได้ชื่อว่า “พญาคันคาก” เป็นเพราะเมื่อครั้งประสูติมีรูปร่างผิวพรรณเหมือนคางคก หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า คันคาก และถึงแม้พระองค์จะมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่พระอินทร์ก็คอยช่วยเหลือ จนพญาคันคากเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน จนลืมที่จะเซ่นบูชาพญาแถน พญาแถนจึงโกรธ ไม่ยอมปล่อยน้ำฝนให้ตกลงมายังโลกมนุษย์
จึงเกิดศึกการต่อสู้ระหว่างพญาคันคากและพญาแถนขึ้น โดยพญาคันคากได้นำทัพสัตว์ต่างๆ ขึ้นไปรบ จนได้รับชัยชนะ พญาแถนจึงปล่อยให้ฝนตกลงมาเช่นเดิม แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเป็นประจำทุกปี จึงเป็นที่มาว่า ชาวอีสานจึงทำบั้งไฟจุดขึ้นบนฟ้าถวายพญาแถน เพื่อฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาลนั่นเอง
ตำนานผาแดงนางไอ่ เป็นเรื่องราวชีวิตของธิดาพระยาขอม ชื่อนาง “ไอ่คำ” เธอมีความงดงามเป็นเลิศ เป็นที่หมายปองของบรรดาเจ้าเมืองต่างๆ
พระยาขอม” ผู้ครองเมืองเอกชะธีตา (เมืองสุวรรณโคม) มีธิดานางหนึ่งชื่อ “นางไอ่”2 ซึ่งจัดเป็นหญิงที่มีรูปร่างงดงามในวัยแตกเนื้อสาว ซึ่งจะหาสาวงามนางใดในสามไตรภพมาเทียบมิได้ ความงดงามของเธอเป็นที่เลื่องลือไปทั่วแดนไกล เจ้าชายหลายหัวเมืองต่างหมายปองอยากได้มาเป็นคู่ครองกันทุกคน
พระยาขอมผู้บิดา จึงวางเงื่อนไขให้ประลองฝีมือจุดบั้งไฟ… แข่งขันกัน
ท้าวผาแดง” เจ้าชายเมืองผาโพง ทราบข่าวเล่าลือถึงสิริโฉมอันงดงามของ นางไอ่ ก็เกิดความหลงไหลใฝ่ฝันในตัวนางเป็นอย่างมาก ได้นำบั้งไฟร่วมจุดแข่งชัน
ระหว่างการแข่งขัน ท้าวพังคี ลูกชายพระยานาค ผู้ดูแลรักษาลำแม่น้ำโขง ได้ยินกิตติศัพท์ แปลงกายเป็นกระรอกด่อน (กระรอกเผือก) ปีนป่ายขึ้นต้นไม้ใหญ่ เพื่อแอบดูความงามนางไอ่คำ
การแข่งขันจุดบั้งไฟกำลังดำเนินไปมีคนเห็นกระรอกเผือกบนต้นไม้ก็ใช้ธนูยิงหล่นลงมาตาย เนื้อกระรอกเผือกตัวใหญ่มากเชือดแบ่งกันกินได้ทั้งเมือง มีน้อยคนที่ปฏิเสธไม่ยอมกิน
ระหว่างชาวเมืองกำลังสนุกสนานบันเทิงกับการได้กินและการบันเทิง พระยานาคผู้บิดารู้เรื่องก็โกรธมาก สำแดงฤทธิ์ให้มวลน้ำมหาศาลไหลบ่ามาถล่ม ทำให้เมืองทั้งเมืองล่มกลายเป็นหนองหล่ม ที่สกลนคร คือหนองหารหลวง ที่อุดรธานี คือหนองหานน้อย
นี่เป็นตำนานที่เกี่ยวกับฟ้าฝน ที่มีผลต่อการทำนาของชาวบ้าน ที่ทำสืบต่อกันมานานเท่านานจนถึงปัจจุบัน
PTV/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0837030109-ข่าว